Recently discovered in a bustling food market, Green Iguana we named BubbleTea was moments away from being killed and sold as a meal. Thankfully, he was rescued and brought to WFFT.
“Legally, I Don’t See How It Can Continue”: Mounting Legal Woes of Thailand’s Pata Zoo Could Finally Spell Its Closure
ภาษาไทยด้านล่าง
Known as the ‘world’s loneliest gorilla’, Bua Noi has lived for over thirty years on the top floor of a shopping mall in the centre of Bangkok as part of Pata Zoo. Bua Noi’s plight – alone in a barren concrete enclosure where she can exhibit few, if any, natural behaviours – and high-profile attempts to free her, have been in the media spotlight for over a decade.
Despite the ongoing public pleas, the zoo shows no signs of closing – actually, the opposite, with the construction of a new restaurant and coffee shop area in the zoo reportedly underway.
For decades, WFFT along with numerous other organizations, have been fighting to free the animals from Pata Zoo. We hope that we can all work together to finally reach the goal of freeing all the animals that have been imprisoned inside this hellhole for years.
WFFT founder Edwin Wiek assisted in the drafting of Thailand’s wildlife protection laws, which he says were written to outlaw places like Pata Zoo. Now, Wiek says the law may finally be catching up with the infamous zoo that has long-stirred global condemnation.
Now, mounting uncertainty surrounding the zoo’s legal status is calling the zoo’s future into question, and could finally see the end of a three-decade-long fight to grant Bua Noi her freedom.
Wiek says that under the Wild Animal Conservation and Protection Act low-welfare facilities for captive animals like Pata Zoo should be deemed illegal.
“In practical terms, it’s impossible for Pata Zoo to legally stay open as a registered zoo”, says Wiek. Wiek explains that under regulations for Thai zoos, the owners of Pata Zoo legally own its animals, including Bua Noi. However, the zoo’s licence expired back in June 2020, and is currently operating with its licence ‘under renewal’. If Pata Zoo’s licence is not legally renewed, then it will be revoked. Any zoo without a licence, by law must exchange or hand over its animals to authorities or another registered zoo within one year. According to Wiek, Pata Zoo does not meet the guidelines for a renewal.
Under the Wild Animal Conservation and Protection Act, which Wiek assisted in drafting, zoo standards stipulate that as well as “nurturing animals”, zoos must also manage appropriate emergency operations and measures. With Pata Zoo’s many animals caged on the sixth and seventh floors of a high-rise shopping mall, Wiek says it’s impossible to meet these standards.
Wiek points out that multiple fires have previously been reported at Pata Zoo, with the most recent in 2020.
“As someone who assisted in drafting the Wild Animal Conservation and Protection Act, I believe that Pata Zoo does not meet the standards for zoo management, and I cannot see how its licence to continue operating can possibly be renewed”, says Wiek.
“Housing animals in barren concrete cages on the top of a high-rise shopping centre in the city of Bangkok is against even the lowest standards of animal welfare”, adds Wiek. “These animals are denied the chance to exhibit many natural behaviours, and the logistics of evacuating these animals safely in an emergency is unclear at best, and fatal at worst”.
Wiek’s comments come after a recent inspection at the zoo by the Thai government’s Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation (DNP).
Government officials visited Pata Zoo late last year to assess its suitability for a licence renewal, and made a formal request for changes at the zoo before a licence renewal could be considered. The DNP stated that Pata Zoo must improve both its fire evacuation plans, noting that “since the zoo is on the sixth and seventh floor of the building, how will the animals be evacuated if there is a fire?”.
Animal welfare concerns were also raised by the DNP, who requested that the current cages be adapted so that the animals can climb or exercise in an appropriate way for each respective species.
“Currently unlicensed, and unable to meet the welfare and safety requirements for a new licence, it feels like time may finally be up for Pata Zoo. From a legal standpoint, I cannot see how Pata Zoo can continue any longer.”
Along with other national and international animal protection groups involved in Thailand, WFFT are now preparing legal proceedings to push the matter forward.
Just this month, Pata Zoo threatened to take its own legal action against any activist or organisation who criticises or “stands against” the zoo and its treatment of animals. Wiek is unphased by Pata Zoo’s threats and mentions some of his past involvement with the legal system. “Speaking out against unethical wildlife attractions has resulted in me being sued several times before, for so-called ‘defamation’. I remember when the infamous Tiger Temple sued me for 15 million Thai baht in damages after I accused them of mistreating its animals”. The temple’s case against Wiek was later immediately dropped upon evidence being presented, and the temple itself would go on to be shut down by authorities in 2016, with a police raid seizing over 100 tigers.
Alongside Bua Noi, other residents at the high-rise zoo include orangutans, gibbons, and albino macaques, as well as porcupines, flamingos, and bear-cats. Over the decades it has also housed tigers, penguins, and a polar bear. Whilst Bua Noi has been the centre of the public and media outcry surrounding the zoo, Wiek affirms that his goal is to find a way to rescue all of the zoo’s remaining animals.
“Faced with legal woes and an uncertain future, I’d like to publicly offer to cover the costs for the rescue and rehoming of all of Pata Zoo’s animals, including the orangutans, the albino macaques, Bua Noi the gorilla, and many more. At WFFT’s rescue animal sanctuary, we have space for all of these animals to live the rest of their lives in near-natural habitats, including forested monkey islands where primates can climb, swing, and socialise in peace. We stand ready to assist, with new habitats ready to rehome the great apes immediately.”
หลังจากต่อสู้เพื่อปลดปล่อยสัตว์ป่าทั้งหลายให้มีชีวิตที่ดีขึ้นมานานนับหลายสิบปี เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมามูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่าร่วมกับองค์กรอื่น ๆ ยื่นข้อเรียกร้องที่รัฐสภา เพื่อให้รัฐบาลได้รับทราบและพิจารณาการช่วยเหลือชีวิตสัตว์เหล่านี้ รวมถึงข้อคิดเห็นที่ว่าทำไมสวนสัตว์นี้จึงควรปิดตัวลง และไม่ควรได้รับการต่ออายุใบอนุญาตสวนสัตว์
เป็นที่รู้จักกันดีว่า บัวน้อย คือกอริลล่าที่โดดเดี่ยวที่สุดในโลก บัวน้อยใช้ชีวิตอยู่ในกรงคอนกรีตชั้นบนสุดของห้างสรรพสินค้าพาต้าใจกลางกรุงเทพตัวเดียวมานานกว่า 30 ปี กรงที่บัวน้อยแทบจะไม่สามารถทำกิจกรรมหรือแสดงออกถึงพฤติกรรมตามธรรมชาติได้เลย นานกว่าทศวรรษที่องค์กรหลายกลุ่มและผู้คนมากมายพยายามหาทางช่วยเหลือเพื่อให้บัวน้อยเป็นอิสระ ข่าวจากสื่อต่าง ๆ กล่าวถึงการช่วยเหลือบัวน้อยให้ออกจากสวนสัตว์นี้และถึงแม้จะมีการร้องเรียน และร้องขอจากสาธารณชนอย่างต่อเนื่อง สวนสัตว์พาต้ากลับไม่มีทีท่าว่าจะปิดตัวลงแต่อย่างใด ในทางกลับกันสวนสัตว์กำลังสร้างร้านอาหาร คาเฟ่ แต่ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับสถานภาพทางกฎหมายของสวนสัตว์ได้ก่อให้เกิดคำถามเกี่ยวกับอนาคตของสวนสัตว์ และในที่สุดอาจจะถึงเวลาสิ้นสุดการต่อสู้มาอย่างยาวนานสามทศวรรษเพื่อให้บัวน้อยเป็นอิสระ
“ตามหลักกฎหมาย ผมมองไม่เห็นเลยว่าสวนสัตว์จะเปิดให้บริการต่อไปได้อย่างไร” และนี่คือความกังวลทางกฎหมายที่เพิ่มขึ้นในกรณีของสวนสัตว์พาต้าว่าอาจต้องปิดตัวลงในที่สุด ผู้ก่อตั้งมูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่า นายเอ็ดวิน วีค ยังเคยเป็นผู้ช่วยเหลือให้คำแนะนำเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ซึ่งนายเอ็ดวิน ได้กล่าวถึงสวนสัตว์พาต้าว่าในที่สุดกฎหมายอาจตามทันสวนสัตว์ที่ได้รับการประณามจากทั่วโลกมาอย่างยาวนานนี้แล้วก็เป็นได้
นายเอ็ดวินผู้ก่อตั้งมูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่า ในจังหวัดเพชรบุรี ทำงานเพื่อปกป้องและช่วยเหลือสัตว์ป่าในประเทศไทยมานานกว่า 20 ปี ตั้งแต่ปี 2544 ความเชี่ยวชาญนี้ทำให้ในปี 2558 นายเอ็ดวินถูกเชิญให้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยแนะนำ ร่างพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า และยังเป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์คณะกรรมการติดตามกลไกและพิจารณาการปกป้องคุ้มครองสัตว์สภานิติบัญญัติแห่งชาตินานกว่า 5 ปี
นายเอ็ดวิน กล่าวว่าภายใต้พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า สวนสัตว์ที่มีสวัสดิภาพสัตว์ต่ำกว่ามาตรฐาน เช่นสวนสัตว์พาต้าควรถือว่าเป็นสถานที่ผิดกฎหมาย เพราะ “ในทางปฏิบัติ เป็นไปไม่ได้เลยที่สวนสัตว์พาต้าจะเปิดเป็นสวนสัตว์ที่จดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย” ถึงแม้ว่าภายใต้กฎระเบียบของสวนสัตว์ไทย เจ้าของสวนสัตว์พาต้าเป็นเจ้าของสัตว์อย่างถูกต้องตามกฎหมาย รวมถึงบัวน้อยด้วย แต่ใบอนุญาตสวนสัตว์ได้หมดอายุลงตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปี 2563และจนถึงขณะนี้สวนสัตว์ยังคงเปิดดำเนินกิจการสวนสัตว์ ภายใต้เงื่อนไข’อยู่ระหว่างการต่ออายุ’ และหากในที่สุดใบอนุญาตของสวนสัตว์พาต้าไม่ได้รับการต่ออายุตามกฎหมาย ใบอนุญาตนั้นจะถูกเพิกถอน ซึ่งตามหลักกฎหมายแล้วสวนสัตว์สาธารณะที่ไม่มีใบอนุญาต จะต้องดำเนินการจำหน่าย จ่าย โอน แลกเปลี่ยนหรือส่งมอบสัตว์ให้กับสวนสัตว์ที่จัดตั้งอย่างถูกต้องตามกฎหมายอื่น หรือกรมอุทยานฯ ภายในหนึ่งปี ในประเด็นนี้นายเอ็ดวินระบุว่าสวนสัตว์พาต้าขาดคุณสมบัติและไม่เป็นไปตามแนวทางในการขอต่ออายุใบอนุญาต และภายใต้พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า มาตรฐานสวนสัตว์นั้นกำหนดเกี่ยวกับ “การเลี้ยงดูสัตว์” ว่า สวนสัตว์ต้องมีการจัดการ ปฏิบัติการและมาตรการฉุกเฉินต่าง ๆ ที่เหมาะสมด้วย ในขณะที่สวนสัตว์พาต้ามีสัตว์จำนวนมากถูกเลี้ยงไว้ในกรงบนชั้นที่ 6 และ 7 ของห้างฯ ซึ่งนายเอ็ดวินชี้ว่าเป็นไปไม่ได้เลยที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานเหล่านี้หากเกิดกรณีฉุกเฉิน อีกทั้งก่อนหน้านี้ยังมีรายงานไฟไหม้สวนสัตว์พาต้าหลายครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในปี 2563
นายเอ็ดวินได้แสดงความคิดเห็นหลังจากเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้เข้าตรวจสอบสวนสัตว์พาต้าเมื่อปลายปีที่แล้ว เพื่อประเมินความเหมาะสมในการต่ออายุใบอนุญาต เจ้าหน้าที่แจ้งให้สวนสัตว์ทำการปรับปรุงสวนสัตว์ให้ได้มาตรฐานตามที่ระบุ เพื่อการพิจารณาในการต่ออายุใบอนุญาต โดยกรมอุทยานฯ ได้ระบุว่า สวนสัตว์พาต้าจะต้องดำเนินการปรับปรุงแผนอพยพหนีไฟ “เนื่องจากสวนสัตว์อยู่บนชั้น 6 และ 7 ของอาคาร จะอพยพสัตว์ได้อย่างไรหากเกิดไฟไหม้” นอกจากนี้ยังหยิบยกข้อกังวลเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ โดยขอให้ปรับปรุงกรง พื้นที่เลี้ยงเพื่อให้สัตว์สามารถปีนป่ายหรือออกกำลังกายได้อย่างเหมาะสมสำหรับแต่ละสายพันธุ์
นายเอ็ดวิน กล่าวว่า “การเลี้ยงสัตว์ในกรงคอนกรีตบนยอดตึกสูงในกรุงเทพฯ นั้นขัดต่อมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ แม้แต่มาตรฐานที่ต่ำที่สุด” “สัตว์เหล่านี้ถูกปิดกั้น และไม่ได้รับโอกาสที่จะแสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติหลายอย่าง และไม่มีความชัดเจนถึงวิธีการปฏิบัติในการอพยพสัตว์เหล่านี้อย่างปลอดภัยในกรณีฉุกเฉิน หรือในกรณีที่แย่ที่สุดก็คือสัตว์เสียชีวิต” “ในฐานะคนที่เคยช่วยให้คำแนะนำร่างพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ผมมองว่า “ปัจจุบันสวนสัตว์ไม่มีใบอนุญาต และสวนสัตว์ยังไม่สามารถปฏิบัติและดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐานการจัดการสวนสัตว์ ทั้งข้อกำหนดด้านสวัสดิภาพและความปลอดภัยเพื่อขอต่อใบอนุญาตใหม่ เหมือนว่าสวนสัตว์พาต้าจะหมดเวลายื้อไว้แล้ว ในมุมมองทางกฎหมายผมมองไม่เห็นว่าสวนสัตว์พาต้าจะดำเนินกิจการต่อไปได้อย่างไร”
ขณะนี้มูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่ากำลังเตรียมดำเนินการทางกฎหมายเพื่อผลักดันเรื่องนี้ต่อไป เฉกเช่นเดียวกันกับกลุ่มพิทักษ์สัตว์ระดับชาติและระดับนานาชาติอื่น ๆ ในประเทศไทย
ในเดือนนี้เองที่สวนสัตว์พาต้าแถลงการณ์ว่าจะดำเนินการทางกฎหมายกับนักเคลื่อนไหวหรือองค์กรใดก็ตามที่วิพากษ์วิจารณ์หรือ “ต่อต้าน” สวนสัตว์และการดูแลสัตว์ของสวนสัตว์ แต่นายเอ็ดวินกลับไม่กังวลถึงต่อแถลงการณ์คุกคามของสวนสัตว์พาต้าและกล่าวถึงตัวเขาที่เคยมีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีความหลายครั้งในอดีต “เพราะการพูดต่อต้านสถานที่ท่องเที่ยวชมสัตว์ป่าที่ผิดจรรยาบรรณ ทำให้ผมถูกฟ้องหลายครั้ง ในข้อหา ‘หมิ่นประมาท’ ผมจำตอนที่วัดเสือฟ้องเรียกค่าเสียหาย 15 ล้านบาทหลังจากที่ผมกล่าวหาว่าวัดทารุณกรรมสัตว์ได้” คดีนี้ได้ถูกยกฟ้องในเวลาต่อมาเมื่อมีการนำเสนอหลักฐานตามคำกล่าวอ้างจริง และวัดเองถูกสั่งล้อมปิดในปี 2559 พร้อมกับการบุกค้นของเจ้าหน้าที่และสามารถยึดเสือได้กว่า 100 ตัว
นอกจากบัวน้อยแล้ว ยังมีสัตว์อื่น ๆ ที่อาศัยอยู่ในสวนสัตว์แห่งนี้ เช่น ลิงอุรังอุตัง ชะนี ลิงเผือก เม่น ฟลามิงโก และหมีขอ ในอดีตสวนสัตว์แห่งนี้ยังเคยมีเสือ เพนกวิน หรือแม้กระทั่งหมีขั้วโลกอีกด้วย
ในขณะที่บัวน้อยกลายเป็นที่พูดถึงของสาธารณชน และสื่อมากมาย นายเอ็ดวินยังยืนยันว่าเป้าหมายของเขาคือการหาทางช่วยเหลือสัตว์ที่เหลืออยู่ในสวนสัตว์ทั้งหมด
“เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาทางกฎหมายและอนาคตที่ไม่ชัดเจนแน่นอน ผมอยากจะเสนอเพื่อช่วยออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการช่วยเหลือสัตว์ทั้งหมดในสวนสัตว์พาต้า รวมถึงลิงอุรังอุตัง ลิงเผือก บัวน้อย กอริลลา และอื่น ๆ อีกมากมาย เพื่อมาดูแลที่มูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่า ที่นี่เรามีพื้นที่ให้สัตว์เหล่านี้ได้ใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ใกล้เคียงธรรมชาติ รวมทั้งเกาะชะนี และสนามลิงในป่าที่ไพรเมทจะสามารถปีนป่าย ห้อยโหน และใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน มูลนิธิฯพร้อมเสมอที่จะช่วยเหลือ แหล่งอาศัยใหม่ที่พร้อมเพื่อจะช่วยเหลือลิงใหญ่ทันที”