Authorities have uncovered a major international trafficking ring, rescuing three orangutans, a siamang, a white-handed gibbon, red pandas, and tamarins. This shocking discovery highlights the ongoing threat to endangered species from illegal trade.
Alarming Rise in Captive Baby Orangutans in Thailand Suggests Illegal Poaching From the Wild, Warn Wildlife Experts
At least seven new infant orangutans have been spotted in captivity in Thailand this year, and there are legitimate concerns that some of these Critically Endangered animals have been caught from the wild in Indonesia and illegally imported to the country.
Wildlife Friends Foundation Thailand (WFFT) based in Phetchaburi, Thailand, is receiving increased reports of very young orangutans being used at tourist attractions and for photo ops, as well as being kept as exotic pets.
Captive orangutans in Thailand are used in performances, including shows where pairs of orangutans are dressed in boxing attire and made to fight in a boxing ring, while others are used as photo props to lure in tourists and customers. Such activities do not only take place at unethical zoos: WFFT says there is an alarming trend in private owners keeping the animals as exotic pets, as well as cafes keeping baby orangutans onsite to increase footfall.
Infant orangutans face a long and harsh life in captivity. In the wild, infants typically stay with their mothers until they reach the age of around ten years old. In captivity however, these highly intelligent babies have almost always been ripped away from their mothers, depriving them of a parental relationship and causing psychological trauma. Often dressed in ‘human’ clothes and fed an unsuitable diet, these baby animals will live in unnatural and cruel conditions for decades, as orangutans in captivity can live up to 50 years old.
Native to Indonesia, all three species of orangutan are listed by the IUCN as Critically Endangered. Habitat loss from human development and deforestation is threatening the species with extinction. But another major cause of their rapid decline is illegal hunting and poaching, which often sees adult orangutans killed and their infants taken to be sold into the illegal pet trade.
Where are all these young orangutans suddenly coming from? – questions WFFT’s founder Edwin Wiek.
Fears that some of these animals have been taken from the wild are supported by the fact that the interbirth interval for orangutans is approximately eight years, which means that new births in captivity are infrequent. Per last month’s government records, the number of captive orangutans in zoos and in private possession totalled 130. This number reflects the recent introduction of a wildlife law change in Thailand that made it possible for anyone who possessed orangutans to register them with the government by the 16th March 2023. Any orangutans registered by this date were given legal status to be kept by their new owners.
WFFT is concerned about the increasing reports of very young orangutans being seen in captivity across Thailand. Orangutan births in captivity are rare as the birth intervals for these animals is around eight years, so there are legitimate concerns that some of these ‘new’ infant orangutans seen in captivity have been illegally trafficked into the country from the wild.
We urge tourists to never take a photo with an orangutan, or visit places that use them for entertainment.
จำนวนที่เพิ่มขึ้นของลูกลิงอุรังอุตังในประเทศไทยชี้ให้เห็นถึงการลักลอบล่าสัตว์ป่าอย่างผิดกฎหมาย
ในปี 2566 นี้พบการเพิ่มจำนวนขึ้นของลูกอุรังอุตังในสถานที่เลี้ยง เพื่อประโยชน์ในการเป็นสัตว์เลี้ยง รวมถึงการถูกบังคับให้แสดงโชว์ที่เรียกว่า “การแสดงโชว์สัตว์แสนรู้” ในสวนสัตว์ต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งการดึงดูดลูกค้าในรูปแบบของร้านคาเฟ่
มูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่าได้รับรายงานถึงจำนวนที่เพิ่มขึ้นของลูกอุรังอุตังวัยเพียงไม่กี่เดือน ที่ถูกใช้หาผลประโยชน์ในการดึงดูดนักท่องเที่ยวผ่านการถ่ายรูป หรือแม้แต่เลี้ยงไว้เป็นสัตว์เลี้ยงส่วนตัว
ลิงอุรังอุตังในกรงเลี้ยงที่พบในประเทศไทยมักถูกใช้เพื่อทำการแสดงโชว์ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของการสวมใส่ชุดเพื่อแสดงการชกมวยไทย หรือใช้ถ่ายรูปเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวและลูกค้า กิจกรรมเหล่านี้ไม่เพียงแค่เกิดขึ้นเฉพาะในสวนสัตว์ที่ไร้จรรยาบรรณต่อสัตว์ป่าเท่านั้น แต่ยังรวมถึงในบางร้านอาหาร คาเฟ่สัตว์ เราก็ยังสามารถพบลูกอุรังอุตังถูกใช้เป็นจุดขายในการดึงดูดลูกค้าอีกด้วย ซึ่งเป็นไปตามข้อมูลที่ทางมูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่าได้รวบรวมและเก็บบันทึกไว้ พบว่ามีการครอบครองสัตว์เลี้ยงต่างถิ่นเพิ่มขึ้นสูงมากในประเทศ
ในพื้นที่ป่าธรรมชาติลิงอุรังอุตังจะอยู่กับแม่ตั้งแต่เป็นทารกจนถึงอายุ 10 ปี นั่นหมายความว่าลิงอุรังอุตังทารกที่เราพบเห็นอาจต้องเผชิญกับชีวิตที่โหดร้ายอย่างยาวนานในสถานที่เลี้ยง ภายหลังการถูกพรากจากอกแม่ ลิดรอนสิทธิความสัมพันธ์ทางครอบครัวที่สัตว์พึงมี เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดบาดแผลทางใจ ลูกลิงอุรังอุตังจะถูกจับแต่งตัว ใส่เสื้อผ้าเฉกเช่นลูกมนุษย์ อาหารการกินที่ผิดหลักโภชนาการ ใช้ชีวิตที่ผิดธรรมชาติ และการเลี้ยงดูอย่างโหดร้าย จากวันเป็นเดือน จากเดือนเป็นปี ไปจนอีกหลายสิบปี ด้วยอายุขัยของลิงอุรังอุตังที่ยาวนานได้มากถึง 50 ปี
ในแพลตฟอร์มสื่อโซเชียลมีเดียต่าง ๆ จะเห็นได้ว่าเจ้าของซึ่งเป็นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว หรือในรูปแบบบุคคลทั่วไป เชื้อเชิญให้ลูกค้าได้สัมผัสประสบการณ์ใกล้ชิดกับลูกอุรังอุตังวัยทารก โดยพนักงานหรือเจ้าของร้านนำลูกลิงอุรังอุตังออกมาถ่ายรูปกับลูกค้า และนักท่องเที่ยว ซึ่งปรากฏหลักฐานตามโพสต์สาธารณะของสื่อออนไลน์เฟสบุ๊คเป็นจำนวนมาก สื่อถึงการเพิ่มจำนวนของลูกลิงอุรังอุตังอย่างน่าตกใจเสมือนดั่งภาพลวงตาของการอนุรักษ์
ลิงอุรังอุตังเป็นสัตว์พื้นเมืองของเกาะบอร์เนียวและเกาะสุมาตราในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีทั้งหมดสามชนิด โดยทางสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (ไอยูซีเอ็น) ขึ้นสถานะลิงอุรังอุตังเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์ แน่นอนว่านี่คือผลจากการสูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัยเพราะการทำลายป่าและการรุกล้ำของมนุษย์ จนทำให้ลิงชนิดนี้เสี่ยงต่อการใกล้สูญพันธุ์เป็นอย่างมาก และอีกสาเหตุสำคัญของการลดจำนวนประชากรอย่างรวดเร็วคือ การล่าและธุรกิจการค้าสัตว์ป่าอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งจะเห็นได้จากการฆ่าอุรังอุตังแล้วนำลูกออกมาขายในตลาดค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย
เพียงแค่ 4 เดือนแรกของปี 2566 นี้ เราได้พบเห็นลิงอุรังอุตังวัยทารกอย่างน้อย 7 ตัว ในสถานที่เลี้ยง ซึ่งทำให้มีข้อกังวลในด้านกฎหมายว่าสัตว์เหล่านี้บางตัวอาจถูกจับมาจากป่าในอินโดนีเซียและลักลอบนำเข้ามาในประเทศไทยอย่างผิดกฎหมาย ความกังวลนี้ส่งผลมาจากข้อเท็จจริงที่ว่าระยะเวลาการตั้งครรภ์ของลิงอุรังอุตังแต่ละครั้งอยู่ที่ประมาณแปดปี ซึ่งหมายความว่าลูกอุรังอุตังเกิดใหม่ในสถานที่เลี้ยงไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนัก และเมื่อกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมากรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช สรุปจำนวนผลการแจ้งการครอบครองสัตว์ป่าควบคุม
พบว่าลิงอุรังอุตังในที่เลี้ยงทั้งจากสวนสัตว์และประชาชนมีจำนวนจดแจ้งทั้งหมด 130 ตัว ตัวเลขนี้สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงกฎหมายสัตว์ป่าในประเทศไทยทำให้ผู้ครอบครองลิงอุรังอุตังสามารถจดทะเบียนลิงอุรังอุตังกับกรมอุทยานฯ จนถึงวันที่ 16 มีนาคม 2566 ผู้ครอบครองลิงอุรังอุตังที่ลงทะเบียนแจ้งครอบครองไว้จะมีสิทธิครอบครองและเป็นเจ้าของลิงได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
“แต่อยู่ดี ๆ ลิงอุรังอุตังวัยทารกเหล่านี้มาจากไหนกันในช่วงระยะเวลาแค่นี้” ผู้ก่อตั้งมูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่า นายเอ็ดวิน วีค กล่าว
ในถ้อยแถลง โฆษกของมูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่ากล่าวว่า “มูลนิธิฯเป็นกังวลเกี่ยวกับรายงานการเพิ่มขึ้นของลูกลิงอุรังอุตังในสถานที่เลี้ยงทั่วประเทศไทย เนื่องจากอัตราการเกิดของลูกลิงอุรังอุตังในที่เลี้ยงนั้นเกิดขึ้นได้ยาก และระยะห่างระหว่างการตั้งครรภ์ของอุรังอุตังอยู่ที่ประมาณแปดปี ดังนั้นจึงมีข้อกังวลตามกฎหมายที่ว่าลิงอุรังอุตังวัยทารก “ตัวใหม่” เหล่านี้ บางตัวที่เห็นอยู่ในสถานที่เลี้ยงอาจถูกล่ามาจากป่า และลักลอบค้าเข้ามาในประเทศอย่างผิดกฎหมาย”
ขั้นตอนในการล่าลูกลิงอุรังอุตังออกมาจากป่านั้นโหดร้ายทารุณมาก เพราะแม่ลิงอุรังอุตังจะหวงและปกป้องลูกยิ่งชีวิต ดังนั้นขบวนการค้าสัตว์ป่าข้ามชาติที่เริ่มจากนายพรานจะยิงและฆ่าแม่ลิงอุรังอุตังเพื่อที่จะได้ลูกของมันมา นั่นหมายความว่าลิงอุรังอุตังทารกได้เห็นแม่ตัวเองถูกฆ่าผ่านสายตาทั้งสองข้าง ซึ่งอาจส่งผลทางจิตใจในระยะยาวสำหรับสัตว์ที่แสนฉลาดเช่นนี้ จากนั้นทารกกำพร้าที่น่าสงสารจะถูกจับใส่กระสอบและถูกลักลอบค้าออกนอกป่าอินโดนีเซียบ้านเกิดของพวกเขา ไปยังประเทศเพื่อนบ้านเช่นประเทศไทย ผู้ค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่านมาอย่างยาวนาน เพื่อส่งต่อลูกลิงอุรังอุตังทารกเหล่านี้ไปไกลจนถึงอินเดียและตะวันออกกลาง