Reflecting on 2024 and the impact you made possible. As we step into 2025, we know there are many challenges ahead and much to do to save, protect and care for animals in Thailand. Please join us to save more.
Impacts of Wildlife Trafficking
(สำหรับภาษาไทยเลื่อนอ่านข้างล่าง)
Last week we highlighted 3 reasons why you should never take a selfie with a slow loris https://bit.ly/2RY6HW3.
Today we want to show you one of many cases we have seen here at WFFT over the years.
สัปดาห์ที่เเล้วเราได้พูดถึง 3 เหตุผลว่าทำไมคุณถึงไม่ควรถ่ายรูปกับนางอายโดยเด็ดขาด!(อ่านได้ที่ https://bit.ly/38JBYC4)
วันนี้เราจะมายกตัวอย่างเคสจริงให้คุณผู้อ่านได้เห็นถึง “ความทุกข์ทรมานของนางอาย” จากการถูกลักลอบค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายกันครับ
ผลจากการทำเงินอย่างมหาศาลหากินกับสัตว์ป่าไม่ว่าจะเป็น ให้นักท่องเที่ยวถ่ายรูป ขายเป็นสัตว์เลี้ยงหรือเครื่องรางของขลังทำมาจากซากของสัตว์ป่า ทำให้นางอายนับพันถูกพรากออกมาจากป่า อัดกันอยู่ในกล่องเเคบๆ หลายร้อยตัว เพื่อหลบหนีเจ้าหน้าที่ ซึ่งนั้นทำให้บางส่วนไม่รอด ส่วนที่รอดก็ประสบปัญหาสุขภาพอย่างหนักหน่วงเเละอยู่สภาวะที่ตึงเครียดอย่างเช่น ทูฟา นางอายที่ได้รับการช่วยเหลือเมื่อเดือนที่ผ่านมา
- ทูฟา ได้รับการช่วยเหลือโดยพลเมืองดีจากการลักลอบค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย หลังจากได้รับมาดูเเลประมาณหนึ่งปี ทูฟาเริ่มแสดงพฤติกรรมผิดปกติหลายๆอย่าง พวกเขาจึงตัดสินใจติดต่อทางมูลนิธิฯเพื่อดูอาการของทูฟา
- เเล้วพวกเขาก็ต้องตกใจ เมื่อทีมสัตวเเพทย์ได้ตรวจร่างกายพร้อมกับ X-ray จึงพบว่า ทูฟาเป็น”โรคกระดูกเมตาบอลิกหรือโรคกระดูกพรุน” ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อยในการนำสัตว์ป่ามาเป็นสัตว์เลี้ยง ส่วนใหญ่เกิดจากสัตว์ที่ไม่ได้รับสารอาหาร วิตามิน หรือเเสงเเดดที่เหมาะสม
- อย่างในเคสนี้ทำให้กระดูกของทูฟาโค้งผิดรูป บางลง เเละอยู่ในสภาพอ่อนเเอ ทำให้ปีนป่ายได้อย่างยากลำบากไม่เหมือนกับที่นางอายควรจะเป็น
- ความจริงที่โหดร้ายคือ ทูฟา คงไม่มีโอกาศที่จะได้กลับป่าอีกเเล้ว เเต่อย่างน้อยที่สุดหากทูฟาได้รับกายภาพบำบัดเเละได้รับสารอาหารที่เหมาะสมจากทีมสัตวเเพทย์ทุกวัน ในอนาคตข้างหน้าเขาอาจจะมีโอกาศได้กลับมาปีนป่ายอีกครั้ง
เห็นเเล้วใช่ไหมครับว่าการนำสัตว์ป่ามาใช้ชีวิตในวิถีมนุษย์นั้นสร้างความโหดร้ายต่อพวกเขาขนาดไหน คุณสามารถหยุดขบวนการการค้าขายสัตว์ป่าเเละเริ่มช่วยพวกเขาโดยวิธีง่ายๆ เพียง แชร์โพสต์นี้ เเละสร้างความตระหนักในครอบครัวหรือเพื่อนของคุณ
เเละหากคุณพบเห็นหรือคิดจะช่วยเหลือสัตว์ป่าโดยรับมาเลี้ยง ขอให้แจ้งกับทางมูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่าหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้ทำการตรวจสอบและช่วยเหลือสัตว์ป่าต่อไป
- กรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช สายด่วน 1362 หรือ hotline1362@hotmail.com ตลอด 24 ชั่วโมง
- ชุดปฏิบัติการพิเศษเหยี่ยวดง : www.facebook.com/DNP.WILDHAWK/
- ร้องเรียนมาได้ที่หน้าเว็บไซต์มูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่า https://bit.ly/37sl61Y