Skip to content

ยึดเสือโคร่งสวนสัตว์มุกดาสวนเสือและฟาร์มเข้าข่ายลักลอบค้าสัตว์ป่า

เจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้สนธิกำลังเข้าตรวจค้นและยึดเสือโคร่ง 5 ตัว และอายัดซากหัวเสือโคร่งอีก 1 หัว ของสวนสัตว์มุกดาสวนเสือและฟาร์ม หลังจากสืบทราบข้อมูลว่าสวนสัตว์แห่งนี้อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการลับลอบค้าสัตว์ป่า

เสือ 3 ตัวแรกนั้นทางสวนสัตว์ได้แจ้งต่อกรมอุทยานฯ ว่าเป็นลูกเสือที่เกิดจากพ่อแม่ในสวนสัตว์ แต่ผลรายงานทางพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอปรากฏออกมาว่า ลูกเสือทั้ง3 ตัวไม่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดกับพ่อและแม่ตามที่ได้แจ้งไว้ รวมทั้งนำไปเปรียบเทียบกับดีเอ็นเอของเสือโคร่งตัวอื่นภายในสวนสัตว์ก็พบว่าไม่มีความสัมพันธ์เป็นพ่อ แม่ ลูกเช่นกัน ทำให้ถูกตั้งข้อสงสัยเพิ่มขึ้นอีกว่า แล้วเสือเหล่านี้มาจากไหนและความเป็นไปได้ที่สวนสัตว์แห่งนี้จะเกี่ยวข้องกับการค้าสัตว์ป่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่กำลังดำเนินการตรวจสอบเสือทั้งหมดที่มีอยู่ภายในสวนสัตว์ หลังจากที่สวนสัตว์ถูกตรวจค้นและยึดเสือไปเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2563

ในระหว่างการสืบค้นหาข้อมูลการลักลอบค้าเสือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยความร่วมมือจากองค์กรตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) มูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่า ( WFFT) และ Education for Nature Vietnam (ENV) ผู้ค้าหลายรายได้เปิดเผยว่าเสือในกรงเลี้ยงในประเทศไทยและลาวนั้นเป็นแหล่งที่มาของเสือที่มีชีวิตและตายแล้วในตลาดค้าสัตว์ผิดกฎหมายระหว่างประเทศ และชิ้นส่วนเสือนั้นมักจะถูกนำขายต่อให้กับลูกค้าชาวจีนและเวียดนาม

แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ยังได้บอกกับฝ่ายสืบของมูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่าอีกว่า สวนสัตว์หลาย ๆ แห่งในประเทศไทยถูกใช้เป็นแหล่งพักสัตว์ก่อนที่จะลักลอบนำส่งไปยังลาวและเวียดนาม

“เราหวังว่าเหตุการณ์การจับกุมในครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการตรวจสอบสวนสัตว์ทั้งหมดทั่วประเทศ เพื่อที่จะจัดการกับการเพาะพันธุ์เสือและการค้าเสือในประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” เพราะการค้าเสือมีแต่จะกระตุ้นให้เกิดอุปสงค์หรือความต้องการซื้อชิ้นส่วนเสือโคร่ง และสัตว์ตระกูลแมวชนิดอื่นๆ มากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดการล่าเสือโคร่งตามธรรมชาติให้มีมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการสูญพันธุ์ไปทั่วภูมิภาคที่เป็นแหล่งอาศัยของเสือโคร่ง” -Debbie Banks -หัวหน้าฝ่ายอาชญากรรมเสือและสัตว์ป่า องค์กรตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) กล่าว

กฎระเบียบข้อบังคับที่เข้มงวดขึ้นคือสิ่งที่จำเป็นอย่างเร่งด่วน ในการจัดการกับสถานที่ที่ครอบครองและเพาะเสือโคร่งในกรงเลี้ยง เพื่อตรวจสอบถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อเสือในกรงเลี้ยง และเพื่อให้มั่นใจว่าชิ้นส่วนเสือจะถูกทำลายตามกฎระเบียบเมื่อเสือเหล่านั้นตาย

“การเอาจริงเอาจังในการตรวจสอบพันธุกรรมและการจัดเก็บข้อมูลลายเสือโคร่งของเสือในกรงเลี้ยงทั้งในประเทศ ไทย ลาว และเวียดนาม ควรที่จะดำเนินไปในทิศทางเดียวกันเพื่ออำนวยผลในการตรวจสอบในระดับภูมิภาคเมื่อมีการจับกุมชิ้นส่วนเสือเกิดขึ้น เนื่องจากปัญหาที่มักจะพบเจอคือความไม่เพียงพอทั้งในแง่ของมาตราการในการตรวจสอบ และการสนับสนุนการสอบสวนเชิงลึกเพื่อให้ทราบถึงต้นตอที่มาของเสือที่มีน้อยเกินไป”

สวนสัตว์มุกดาสวนเสือและฟาร์มมุกดาหารถูกตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่หลายครั้ง ตั้งแต่ปี 2556-2563 เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบสวนสัตว์แห่งนี้มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ครั้ง ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวจำนวนเสือที่สวนสัตว์แห่งนี้มีไว้ในครอบครองได้เพิ่มจำนวยขึ้นเรื่อย ๆ จาก 28 ตัว ในปี 2556 เป็น 50 ตัว ในปี 2561
แต่หากเราอ้างอึงตามข้อมูลการรายงานจำนวนของเสือที่สวนสัตว์แห่งนี้ จำนวนลดลงมาเหลืออยู่ที่ 25 ตัว จึงทำให้เกิดคำถามที่ว่าเกิดอะไรขึ้นกับเสือตามจำนวนก่อนหน้านี้

นอกจากเสือโคร่งแล้วยังพบว่ามีสัตว์ต่างประเทศอีกหลายชนิดที่ถูกตรวจพบว่าไม่มีใบครอบครอง อย่างเช่น แพนด้าแดง ค่างห้าสี และค่างลาว แต่หลักฐานไม่เพียงพอจึงถูกยกฟ้อง

มูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่าได้ให้ข้อมูลว่าแพนด้าแดงนั้นถูกลักลอบนำเข้ามาจากประเทศพม่า ส่วนค่างถูกลักลอบนำเข้ามาจากลาว และเวียดนาม

จากการตรวจค้นและยึดสัตว์ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา สวนสัตว์แห่งนี้ยังคงเปิดให้บริการ และยังมีใบอนุญาติประกอบสวนสัตว์สาธารณะตามปกติ แต่หลังจากเหตุการณ์ยึดเสือเมื่อไม่กี่วันมานี้ เนื่องจากเป็นการกระทำความผิดชัดเจน กรมอุทยานฯ ได้สั่งพักใบอนุญาตขอประกอบกิจการสวนสัตว์ไม่เกิน 90 วัน ในระหว่างนี้เจ้าหน้าที่จะดำเนินงานตรวจสอบเพิ่มเติม

จำนวนประชากรเสือในกรงเลี้ยงในไทยนั้นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ปี พ.ศ 2550 จากเดิมที่มีอยู่ประมาณ 600 กว่าตัว ณ ตอนนี้ในปี พ.ศ 2563 คาดการณ์ว่ามีถึงประมาณ 1,900 กว่าตัว

ในการจัดการประชุมไซเตส หรือ การประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) ครั้งที่ 14 เน้นย้ำไว้ว่า สมาชิกจะต้องทำการลดจำนวนประชากรเสือโคร่งในกรงเลี้ยงลง แต่ประเทศไทยกลับมีจำนวนเสือในกรงเลี้ยงมากขึ้นกว่าเดิมถึง 3 เท่า

ใน ปี 2563 นี้ ประเทศไทยมีเสือในกรงเลี้ยงของเอกชนอยู่ 47 แห่ง ทั้งสวนสัตว์เปิด สถานที่เลี้ยงแบบสวนสัตว์ส่วนตัว หรือเลี้ยงแบบปิด และอีก 19 แห่งที่เป็นสวนสัตว์ของรัฐและศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่าของกรมอุทยานฯ
และยังมีสวนสัตว์เอกชนอย่างน้อย 4 แห่งที่ได้ปิดตัวลงแล้วและกำลังจะปิดตัวลง คำถามคืออะไรจะเกิดขึ้นหรือจะมีการจัดการอย่างไรกับเสือเหล่านั้น

เสือในกรงเลี้ยงเหล่านี้ไม่ส่งผลใด ๆ ต่อการอนุรักษ์เสือโคร่งตามธรรมชาติ และยิ่งไม่สามารถปล่อยป่ากลับคืนสู่ธรรมชาติได้ สวนสัตว์เอกชนต่างหากำไรจากสถานะการเป็นสวนสัตว์ ซึ่งทำให้สวนสัตว์สามารถเพาะและค้าเนื่องจากไม่มีกฎในการควบคุมจำนวนประชากร สวนสัตว์ยังเป็นศูนย์กลางการแสดงสัตว์เพื่อความบันเทิง ที่ผู้เยี่ยมชมส่ามารถถ่ายรูปกับเสือ จูงเสือเดิน และให้นมลูกเสือได้ นำไปสู่การค้าและธุรกิจในสวนสัตว์
กิจกรรมเหล่านี้บางครั้งมีไว้เพื่อปกปิดธุรกิจที่แอบแฝงไว้

“เราขอแสดงความยินดีต่อเจ้าหน้าที่ไทยในภารกิจการตรวจยึดครั้งนี้ และเราหวังว่าจะเห็นการดำเนินคดีตามกฎหมายเพื่อต่อต้านอาชญากรรมในทุกรูปแบบ” เอ็ดวิน วิค ผู้ก่อตั้งมูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่า และในปี 2561 มูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่ายังเคยรายงานต่อกรมอุทยานฯ ถึงความกังวลเกี่ยวกับกิจกรรมของสวนสัตว์นี้

สวนสัตว์แห่งนี้ตั้งอยู่บริเวณชายแดนติดประเทศลาว ห่างไกลจากนักท่องเที่ยว และเสือที่เลี้ยงไว้ในครอบครองในสวนสัตว์ บางครั้งปิดการให้เข้าชมไม่เหมือนตามที่กล่าวไว้ ดังนั้นสถานที่นี้จึงไม่ใช่แค่เป็นแหล่งท่องเที่ยว

มูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่าขอขอบคุณเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนอีกครั้งสำหรับการตรวจยึดและดำเนินการตามกฎหมายในครั้งนี้

ท่านสามารถอ่านรายงานข้อมูลของ EIA, ENV และ WFFT เกี่ยวกับการค้าเสือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ที่ https://reports.eia-international.org/tiger-trade-trail/

 

WFFT

Get Connected

Wildlife Friends Foundation Thailand needs your help! Connect with us and share our stories. If you are in Thailand find out how you can help. Come visit us and get involved.

Back To Top