It's time to take action—learn how you can help stop this exploitation and protect slow lorises from further harm.
RELEASED – Kong Returns Home
(SCROLL DOWN FOR ENGLISH)
ส่งคอง ลิงแสมเมืองเพชรบุรีกลับบ้าน
เรายังคงต้องการความช่วยเหลือจากทุกท่านในการช่วยเหลือสรรพสัตว์เช่นเดียวกับ “คอง” ท่านสามารถให้การสนับสนุนภารกิจช่วยเหลือสัตว์ป่าของเราได้โดยการบริจาคที่ https://www.wfft.org/donate/ หรือท่านสามารถเลือกบริจาคให้กับชนิดสัตว์ที่ท่านชื่นชอบได้ที่ https://covidsupport.wfft.org.
คอง เป็นลิงแสมวัยรุ่นที่มูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่าช่วยไว้เมื่อ 3 สัปดาห์ก่อน ชาวบ้านเจอคองนอนแน่นิ่งอยู่ที่พื้น คองถูกส่งมารักษาที่โรงพยาบาลของมูลนิธิฯโดยด่วน ผลจากการเอ็กซเรย์พบว่าคองมีกะโหลกร้าว ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการถูกสุนัขกัด การสู้กับลิงตัวอื่น หรืออาจเกิดจากฝีมือมนุษย์ เราดูแลรักษาคองประมาณ 3 สัปดาห์ และเป็นเรื่องที่น่ายินดีมาก ๆ คองฟื้นตัวเต็มที่และแข็งแรงเหมือนเดิม เมื่อวานนี้เราจึงพาคองกลับบ้านทันทีที่เราปล่อยคอง เพื่อนๆ ต่างก็มารับกลับเข้าฝูง และมีลิงตัวผู้ตัวใหญ่เข้ามากอดต้อนรับและทั้งหมดก็พากันกลับเข้าป่า
คองมาจากใจกลางเมืองเพชรบุรีซึ่งเป็นเมืองที่มีประชากรลิงหนาแน่นอาศัยอยู่ การเผชิญหน้ากับลิงแสมเป็นเรื่องปกติในเขตเมืองในหลาย ๆ พื้นที่ เนื่องจากการส่งเสริมการมีอยู่ของพวกมันโดยการจัดเตรียมอาหารให้ลิง มนุษย์อย่างเราเป็นทั้งผู้ที่ทำให้ประชากรลิงเพิ่มขึ้นผ่านการจัดหาอาหาร และการคุ้มครองแหล่งอาศัยของลิงกลายเป็นเมืองของคนทับซ้อนกับแหล่งอาศัยของลิงที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ในทางกลับกันมนุษย์ก็ขัดขวางผ่านการบุกรุก ทำลายพื้นที่ป่าซึ่งเป็นแหล่งอาศัยที่แท้จริงของลิงอย่างต่อเนื่อง การจับลิงออกจากป่าเพื่อการค้า หรือแม้กระทั่งการส่งออกเพื่อการวิจัย
ทางออกที่มีมนุษยธรรมในการจัดการกับปัญหาประชากรลิงเมืองที่มีมากเกินไปคือการจัดทำโครงการทำหมันลิง ทั้งนี้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชเพิ่งจัดทำโครงการดังกล่าว โดยได้ทำหมันลิงเมืองที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีไปแล้วหลายร้อยตัว ทางเราขอแสดงความยินกับเจ้าหน้าที่และหวังว่าโครงการนี้จะประสบผลสำเร็จในการลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับสัตว์ป่า และในที่สุดโครงการนี้จะช่วยปรับปรุงสวัสดิภาพลิงที่อาศัยอยู่ในเมืองได้
คุณอาจถามว่า “แล้วทำไมถึงปล่อยสัตว์ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เป็นมิตรเช่นนี้” คำตอบคือลิงแสมมีความสัมพันธ์ในครอบครัวแบบใกล้ชิดและมีระบบสังคมที่ซับซ้อน เราจะไม่ปล่อยสัตว์จากสถานที่ที่ไม่รู้จักเข้าไปในสภาพแวดล้อมเช่นนี้แน่ แต่การกักขังสัตว์ป่าที่สามารถกลับสู่ป่าได้ไว้ในกรงตลอดชีวิตถือเป็นเรื่องไร้มนุษยธรรม ดังนั้นมูลนิธิฯ จะปล่อยสัตว์ทั้งหมดที่มีความพร้อมมากเท่าที่เราจะทำได้
เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย มีสัตว์จำนวนมากที่ได้รับการช่วยเหลือจากมูลนิธิฯแต่ไม่สามารถอยู่รอดในป่าได้ทางเราจึงต้องรับดูแลไว้ตลอดชีวิต ดังนั้นทางมูลนิธิฯ จึงต้องแบกรับค่าใช้จ่ายเหล่านี้ โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด -19 ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาที่ค่อนข้างลำบาก ดังนั้นจึงขอความกรุณาจากท่านอีกครั้งไม่ว่าจะเป็นจำนวนมากหรือน้อย การบริจาคของท่านจะสนับสนุนเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่าของเรา
ที่สำคัญที่สุดคือเพื่อให้สัตว์ทั้งหมดของเราได้รับการดูแลอย่างดีพร้อมทั้งได้รับการให้อาหารอย่างเหมาะสม
เรายังคงต้องการความช่วยเหลือจากทุกท่านในการช่วยเหลือสรรพสัตว์เช่นเดียวกับ “คอง” ท่านสามารถให้การสนับสนุนภารกิจช่วยเหลือสัตว์ป่าของเราได้โดยการบริจาคที่ https://www.wfft.org/donate/ หรือท่านสามารถเลือกบริจาคให้กับชนิดสัตว์ที่ท่านชื่นชอบได้ที่ https://covidsupport.wfft.org.
Help Us Help More Like Kong. Please consider making a donation at https://www.wfft.org/donate/ or sponsoring one or more of our resident animals at https://covidsupport.wfft.org.
Meet Kong, a juvenile Long-tailed macaque who was rescued 3 weeks ago. Some concerned locals had found Kong on the floor. He was rushed back to the WFFT Wildlife Hospital for emergency treatment. Results from the x-ray showed that he had a fractured skull. This may have been caused by a dog bite, a fight with another monkey or directly by humans. He spent 3 weeks under treatment at WFFT and amazingly he made a full recovery. Yesterday he was returned home. Upon release, Kong was welcomed back by the troop; he was embraced by one of the large males and then moved off into the forest area with his friends.
Kong is from an area in the middle of Phetchaburi City where large populations of urban macaques live. Hostile encounters with macaques are common in urban areas due to the active promotion of their presence by provisioning food for the macaques. We (humans) both promote population growth through the provision of food and the protection habitat, and on the other hand we hinder it through the continued destruction of their true wild habitat, capture and exportation for research, and the pet-trade.
The most humane way to deal with the overpopulation of urban macaques is to perform mass sterilization projects. The Department of National Park, Wildlife and Plant Conservation (DNP) has just performed such a project in this area, sterilizing 100’s of monkeys. We congratulate the authorities and hope that this project succeeds in reducing human-wildlife conflict, ultimately improving the welfare these city dwelling monkeys.
You may ask, “Why release an animal in such a hostile environment?” Macaques have very close nit family ties and complex social systems. We do not release animals from unknown locations into such environments. Keeping a wild animal that is capable of returning back to the wild in a cage for the rest of its life is inhumane. We release all the animals we can.
Unfortunately many of the animals that are rescued by WFFT can no longer survive in the wild so require lifelong care. That comes at a cost, covering those costs during the Covid-19 Pandemic has been tough. We once again ask for your kindness, any amount given, large or small, goes directly to the running costs of our Wildlife Rescue Centre, most importantly keeping our residents well cared for and fed properly.
Help Us Help More Like Kong. Please consider making a donation at https://www.wfft.org/donate/ or sponsoring one or more of our resident animals at https://covidsupport.wfft.org.