A blind crocodile, named Bond, has been rescued and brought to WFFT, where he's now ready to start a new life in the sanctuary.
Impacts of Wildlife Trafficking
(สำหรับภาษาไทยเลื่อนอ่านข้างล่าง)
Last week we highlighted 3 reasons why you should never take a selfie with a slow loris https://bit.ly/2RY6HW3.
Today we want to show you one of many cases we have seen here at WFFT over the years.
สัปดาห์ที่เเล้วเราได้พูดถึง 3 เหตุผลว่าทำไมคุณถึงไม่ควรถ่ายรูปกับนางอายโดยเด็ดขาด!(อ่านได้ที่ https://bit.ly/38JBYC4)
วันนี้เราจะมายกตัวอย่างเคสจริงให้คุณผู้อ่านได้เห็นถึง “ความทุกข์ทรมานของนางอาย” จากการถูกลักลอบค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายกันครับ
ผลจากการทำเงินอย่างมหาศาลหากินกับสัตว์ป่าไม่ว่าจะเป็น ให้นักท่องเที่ยวถ่ายรูป ขายเป็นสัตว์เลี้ยงหรือเครื่องรางของขลังทำมาจากซากของสัตว์ป่า ทำให้นางอายนับพันถูกพรากออกมาจากป่า อัดกันอยู่ในกล่องเเคบๆ หลายร้อยตัว เพื่อหลบหนีเจ้าหน้าที่ ซึ่งนั้นทำให้บางส่วนไม่รอด ส่วนที่รอดก็ประสบปัญหาสุขภาพอย่างหนักหน่วงเเละอยู่สภาวะที่ตึงเครียดอย่างเช่น ทูฟา นางอายที่ได้รับการช่วยเหลือเมื่อเดือนที่ผ่านมา
- ทูฟา ได้รับการช่วยเหลือโดยพลเมืองดีจากการลักลอบค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย หลังจากได้รับมาดูเเลประมาณหนึ่งปี ทูฟาเริ่มแสดงพฤติกรรมผิดปกติหลายๆอย่าง พวกเขาจึงตัดสินใจติดต่อทางมูลนิธิฯเพื่อดูอาการของทูฟา
- เเล้วพวกเขาก็ต้องตกใจ เมื่อทีมสัตวเเพทย์ได้ตรวจร่างกายพร้อมกับ X-ray จึงพบว่า ทูฟาเป็น”โรคกระดูกเมตาบอลิกหรือโรคกระดูกพรุน” ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อยในการนำสัตว์ป่ามาเป็นสัตว์เลี้ยง ส่วนใหญ่เกิดจากสัตว์ที่ไม่ได้รับสารอาหาร วิตามิน หรือเเสงเเดดที่เหมาะสม
- อย่างในเคสนี้ทำให้กระดูกของทูฟาโค้งผิดรูป บางลง เเละอยู่ในสภาพอ่อนเเอ ทำให้ปีนป่ายได้อย่างยากลำบากไม่เหมือนกับที่นางอายควรจะเป็น
- ความจริงที่โหดร้ายคือ ทูฟา คงไม่มีโอกาศที่จะได้กลับป่าอีกเเล้ว เเต่อย่างน้อยที่สุดหากทูฟาได้รับกายภาพบำบัดเเละได้รับสารอาหารที่เหมาะสมจากทีมสัตวเเพทย์ทุกวัน ในอนาคตข้างหน้าเขาอาจจะมีโอกาศได้กลับมาปีนป่ายอีกครั้ง
เห็นเเล้วใช่ไหมครับว่าการนำสัตว์ป่ามาใช้ชีวิตในวิถีมนุษย์นั้นสร้างความโหดร้ายต่อพวกเขาขนาดไหน คุณสามารถหยุดขบวนการการค้าขายสัตว์ป่าเเละเริ่มช่วยพวกเขาโดยวิธีง่ายๆ เพียง แชร์โพสต์นี้ เเละสร้างความตระหนักในครอบครัวหรือเพื่อนของคุณ
เเละหากคุณพบเห็นหรือคิดจะช่วยเหลือสัตว์ป่าโดยรับมาเลี้ยง ขอให้แจ้งกับทางมูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่าหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้ทำการตรวจสอบและช่วยเหลือสัตว์ป่าต่อไป
- กรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช สายด่วน 1362 หรือ hotline1362@hotmail.com ตลอด 24 ชั่วโมง
- ชุดปฏิบัติการพิเศษเหยี่ยวดง : www.facebook.com/DNP.WILDHAWK/
- ร้องเรียนมาได้ที่หน้าเว็บไซต์มูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่า https://bit.ly/37sl61Y